เครื่องดนตรีไทย..ที่ควรรู้ในวันนี้



เปิงมางที่ใช้กันอยู่ในวงปี่พาทย์มอญตามที่ปฏิบัติกันอยู่ในบัดนี้ เขาใช้เปิงมางจำนวน ๗ ลูก มีขนาดลดหลั่นกันลงไปและติดข้าวสุกผสมขี้เถ้าปิดหน้ากลองแต่ละลูกเทียบเสียงต่ำสูง แขวนเรียงลำดับไว้เป็นราวล้อมตัวคนตีเรียกกันว่า "เปิงมางคอก" และคอกที่ทำสำหรับแขวนเปิงมางนั้นมีขนาดสูงประมาณ ๖๖ ซม. ความกว้างของวงวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๑๖ ซม. เปิงมางคอกในวงปี่พาทย์มอญนี้ใช้ตีขัดสอดประสานกับตะโพนมอญ เครื่องตีแบบเปิงมางคอกในวงปี่พาทย์ของพม่าก็มีแต่คอกเตี้ยกว่าและมี ๑๖ ลูกทำเป็น "กลองวง" อย่างฆ้องวงของเราเรียงตั้งแต่ขนาดใหญ่ลงไปถึงเล็กใช้บรรเลงเป็นทำนองได้
"เปิงมาง" เป็นภาษามอญแน่ คนมอญในเมืองมอญออกสำเนียงว่า "เปินย์มัง" ไม่ทราบความหมายของคำ แต่สันนิษฐานได้เป็น ๒ นัย คือ
๑. ก่อนการเล่นเครื่องดนตรีประเภทกลองนี้ จะต้องนำเอาข้าวสุก (มอญเรียก เปิง) ผสมกับยางในเม็ดสะบ้า หรือยางเหนียวของอะไรสักอย่าง ที่มีความข้นอย่างหมึก (มอญเรียก ฮฺมัง) แปะติดหน้ากลอง เพื่อถ่วงเสียงให้ได้ระดับ จนกลายเป็น "เปินย์มัง" และคนไทยเรียกตามว่า "เปิงมาง" ในที่สุด
๒. เหตุผลง่าย ๆ เลย คือเจ้าเครื่องดนตรีชิ้นนี้เมื่อตีออกมาแล้ว มันส่งเสียงว่า " เปินย์-มัง เปินย์-มัง ๆ ๆ"



ปี่มอญมีปากใหญ่เหมือนปากแตร จะเป็นตัวเด่นอีกตัวที่ให้เสียง
แปลกแตกต่างจากปี่ใน ยังไม่มีใครเลียนแบบได้ เสียงของจะเศร้าโหยหวนสะกดผู้ฟังหยุดนิ่งเงียบ ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์

1 ความคิดเห็น:

  1. น่าทึ่งกับเสียงที่ได้ยินนะค่ะ

    http://www.xn--42cg3bekk9dce9g7dra8iwc9b.com

    ตอบลบ