มหาบรมครูเทพแห่งศิลปะ
ในความเป็นคนไทยได้ถูกอบรมให้เป็นผู้ที่มีความกตัญญู รู้จักทดแทนบุญคุณผู้มีพระคุณ บรมครูทางด้านดนตรีไทยก็ได้พร่ำสอนในเรื่องความกตัญญู บรมครูดนตรีไทยได้นำความกตัญญูที่กล่าวมาข้างต้นบวกกับแนวความเชื่อในศาสนาพราหมณ์เข้าด้วยกัน จึงได้เกิดความเชื่อว่าครูดนตรีไทยนอกจากจะมีครูที่เป็นมนุษย์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ศานุศิษย์แล้ว ยังมีครูเป็นเทวดาและฤๅษีอีกส่วนหนึ่งที่เรียกว่า ดุริยเทพ เกี่ยวข้องกับดนตรีไทยในเรื่องของ ผู้สร้างเครื่องดนตรีและบทเพลง ดังนั้นในความกตัญญูของคนไทย จึงนับว่าเทวดาทั้งหลายเหล่านี้เป็นครูทางเทพยดา
ก่อนที่จะกล่าวถึง ดุริยเทพนั้น ขอกล่าวถึง บรมเทพ 3 องค์ หรือ พระตรีมูรติ เพราะ ถือเป็นมหาเทพชั้นสูง ถือได้ว่า เป็นหัวหน้า ของดุริยเทพ ซึ่งได้แก่ พระพรหม(ผู้สร้าง) พระนารายณ์( ผู้ปกป้องรักษา) และ พระอิศวร (ผู้ทำลาย) ดังนี้
พระพรหม (เทพผู้สร้าง) ในอินเดียสมัยโบราณ พระพรหมเป็นเทพผู้สร้างโลก เป็นเทพเจ้าแห่งพรหมวิหาร มีสีขาว มี ๔ พักตร์ ๘ กร ทรงมงกุฎชัย ๒ชั้น หรือ มงกุฎเทิดน้ำเต้ากลม มีหงส์ เป็นพาหนะ สถิต ณ พรหมพฤนทา มีพระมเหสีนามว่า พระสุรัสวดี เทพเจ้าแห่งการศึกษา สร้างโลกลักษณะเศียร สีขาว หน้า ๒ ชั้น มงกุฎชัยหรือมงกุฎเทิดน้ำเต้ากลม
พระอิศวร(ศิวะ) เทพแห่งการทำลาย หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใด ๆ ก็ให้พรนั้น พระศิวะจะประทานสิ่งวิเศษให้ในไม่ช้า แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงามคนผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะเทพผู้จะกลายเป็นเทพผู้ทำลายทันที มี ๑ พักตร์ ๓ เนตร ๔ กร กายสีขาว มงกุฎน้ำเต้าหรือมงกุฎทรงเทิดน้ำเต้ากาบ เกศามุ่นเป็นชฎารุงรัง มีประคำหัว กะโหลกคนคล้องพระศอ มีสังวาลเป็นงู พระศอสีนิล นุ่งหนังเสือ หนังช้าง หรือหนังกวาง ใช้โคเป็นพาหนะ สถิตบนเขาไกรลาศ มีพระมเหสีทรงนามว่า พระอุมา มีเทวโอรส ๒ องค์ คือ พระขันทกุมาร และพระคเณศ ลักษณะเศียร สีขาว มงกุฎน้ำเต้าหรือมงกุฎเทิดน้ำเต้ากาบ เป็นผู้ร่ายรำท่านาฏยศาสตร์ ให้พระฤๅษีภรตมุณีเป็นผู้จดท่ารำ
พระนารายณ์(วิษณุ) เทพแห่งการรักษา พระวิษณุ (นารายณ์) เทพผู้คุ้มครองโลก ความเชื่อของชาวฮินดูปัจจุบันพระองค์ คือเทพผู้ทำหน้าที่บริหารหรือผู้คุ้มครองโลกที่สำคัญ กายสีดอกตะแบก (ชมพูอมม่วง) มี ๑ พักตร์ ๔ กร ยอดมงกุฎชัย มีครุฑเป็นพาหนะ สถิต ณ เกษียรสมุทร มีพระลักษมี เทพเจ้าแห่งลาภและความดีเป็นพระมเหสี ลักษณะเศียร สีดอกตะแบก ทรงมงกุฎ
พระฤาษี
มีทั้งหมด ๑๐๘ ตน ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กัน ถ้าด้านนาฏศิลป์ไทย, ดนตรีไทย ฤาษีตนนั้นมีชื่อว่า " พระภรตฤาษี "(พระภรตมุณี) เป็นผู้ได้รับ เทวโองการจากพระ อิศวร (ศิวะ) ให้นำศิลปการร่ายรำ ท่าศิวนาฏราช (ท่านาฏยศาสตร์๑๐๘ท่า) มาบังเกิดในโลกมนุษย์
พระวิศวกรรม (พระวิศณุกรรม)
หรือในบางครั้งรู้จักในนาม พระเพชฉลูกรรม เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปการช่าง เป็นนายช่างใหญ่ของเทวดา เป็นผู้ประสิทธิ์ประศาสตร์เครื่องดนตรีสารพัน และถือว่าพระวิศวกรรมเป็นเทพผู้บันดาลให้เกิดเสียง และเป็นแบบฉบับในการบรรเลงสืบมา ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระวิศวกรรม มี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะศีรษะโล้นวาดรูปดอกไม้บนศีรษะ และศีรษะทรงเทริดน้ำเต้า เป็นหน้าสวม ลักษณะใบหน้า
พระปรคนธรรพ มีพระนามจริงว่า "พระนารทมุนี"
เป็นผู้สร้างพิณขึ้นเป็นคันแรก เป็นตนในมหาฤาษีทั้งสิบ เกิดจากพระนลาฏของพระพรหม เป็นคนธรรพจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีความดีเกินกว่าจะเป็นมนุษย์แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นเทวดา อาศัยอยู่ระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์ มีความชำนาญในการขับร้องและเล่นดนตรี มีหน้าที่บรรเลงดนตรีให้ความสำราญและขับกล่อมเทพยดา ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระปรคนธรรพ มี 2 ลักษณะ คือ หน้าสีเขียวช่อแค เป็นหน้าสวมมงกุฎยอดบวช ปาก จมูกเหมือนมนุษย์ ส่วนตาจระเข้หรือตานกนอน และอีกลักษณะคือ หน้าสีส้มหรือสีปูนแห้ง เป็นหน้าสวมใบหน้า หน้าเหมือนมนุษย์เขียนลายทักษิณาวรรตใส่ยอดชัย
พระปัญจสีขร (ปัญจสิข)
เป็นเด็กเลี้ยงโค ช่วงที่เป็นมนุษย์ได้สร้างสาธารณะประโยชน์มากมาย ได้บังเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจตุมหาราช ชื่อว่า "ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร" กายเป็นสีทอง มีกุณฑล ทรงภูษาสีแดงประดับด้วยนิล เป็นพระพุทธอุปัฏฐากในพระพุทธบาทยุคล มีความสามารถในเชิงดีดพิณ และขับลำนำ ซึ่งพิณของพระปัญจสีขรมีลักษณะรูปพรรณเลื่อมเหลือง ดั่งผลมะตูมสุก ตระพองพิณเป็นทองทิพย์ คันพิณทำด้วยแก้วอินทนิลมณี มี 50 สาย ทำจากเงิน ลูกบิด (เวทกะ)ที่สอดสายพิณอยู่ปลายคันทำด้วยแก้วประพาฬ ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระปัญจสีขร มียอดมงกุฎน้ำเต้า 5 ยอด เป็นหน้าสวม ขาว ลักษณะใบหน้าเหมือนมนุษย์
พระพิราพ (พระไภรวะ ) เป็นอสูรเทพบุตร อยู่เชิงเขาอัศกรรณ พระอิศวรเอากำลังพระสมุทร และพระเพลิงแบ่งประทาน และทรงกำหนดเขตป่า ให้อยู่ ถ้ามีสัตว์พลัดหลงมาในป่าให้จับกินได้ มีกายสีม่วงแก่ ๑พักตร์ ๑ กร มีหอกเป็นอาวุธ มูลเหตุที่ศิลปินเคารพบูชาเพราะว่า มีผู้ค้นคว้าไว้ว่า เริ่มมาจากในประเทศอินเดีย ซึ่งถือว่า พระพิราพ หรือพระไภรวะนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า "วิจิตรตาณฑวะ" ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ(อิศวร) ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น "นาฏราช" ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพเกรงกลัว เพราะถือเป็นเทพที่บันดาลความเป็นความตายได้ ลักษณะเศียรโล้น สีม่วงแก่ (พิราพเดินป่า) สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจระเข้
พระคเณศร์(พระพิฆเณศวร)
เป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ศิลปวิทยาการทั้งปวง มีกายสีแดงสัมฤทธิ์ ร่างมนุษย์ อ้วนเตี้ย ทั้งพลุ้ย หูยาน มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว มี ๔ กร มงกุฎทรงเทิดยอดน้ำเต้า ทรงหนูเป็นพาหนะ เป็นโอรสของพระอิศวรและพระอุมา ลักษณะเศียร สีแดง มงกุฎเทิดน้ำเ
ก่อนที่จะกล่าวถึง ดุริยเทพนั้น ขอกล่าวถึง บรมเทพ 3 องค์ หรือ พระตรีมูรติ เพราะ ถือเป็นมหาเทพชั้นสูง ถือได้ว่า เป็นหัวหน้า ของดุริยเทพ ซึ่งได้แก่ พระพรหม(ผู้สร้าง) พระนารายณ์( ผู้ปกป้องรักษา) และ พระอิศวร (ผู้ทำลาย) ดังนี้
พระพรหม (เทพผู้สร้าง) ในอินเดียสมัยโบราณ พระพรหมเป็นเทพผู้สร้างโลก เป็นเทพเจ้าแห่งพรหมวิหาร มีสีขาว มี ๔ พักตร์ ๘ กร ทรงมงกุฎชัย ๒ชั้น หรือ มงกุฎเทิดน้ำเต้ากลม มีหงส์ เป็นพาหนะ สถิต ณ พรหมพฤนทา มีพระมเหสีนามว่า พระสุรัสวดี เทพเจ้าแห่งการศึกษา สร้างโลกลักษณะเศียร สีขาว หน้า ๒ ชั้น มงกุฎชัยหรือมงกุฎเทิดน้ำเต้ากลม
พระอิศวร(ศิวะ) เทพแห่งการทำลาย หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใด ๆ ก็ให้พรนั้น พระศิวะจะประทานสิ่งวิเศษให้ในไม่ช้า แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงามคนผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะเทพผู้จะกลายเป็นเทพผู้ทำลายทันที มี ๑ พักตร์ ๓ เนตร ๔ กร กายสีขาว มงกุฎน้ำเต้าหรือมงกุฎทรงเทิดน้ำเต้ากาบ เกศามุ่นเป็นชฎารุงรัง มีประคำหัว กะโหลกคนคล้องพระศอ มีสังวาลเป็นงู พระศอสีนิล นุ่งหนังเสือ หนังช้าง หรือหนังกวาง ใช้โคเป็นพาหนะ สถิตบนเขาไกรลาศ มีพระมเหสีทรงนามว่า พระอุมา มีเทวโอรส ๒ องค์ คือ พระขันทกุมาร และพระคเณศ ลักษณะเศียร สีขาว มงกุฎน้ำเต้าหรือมงกุฎเทิดน้ำเต้ากาบ เป็นผู้ร่ายรำท่านาฏยศาสตร์ ให้พระฤๅษีภรตมุณีเป็นผู้จดท่ารำ
พระนารายณ์(วิษณุ) เทพแห่งการรักษา พระวิษณุ (นารายณ์) เทพผู้คุ้มครองโลก ความเชื่อของชาวฮินดูปัจจุบันพระองค์ คือเทพผู้ทำหน้าที่บริหารหรือผู้คุ้มครองโลกที่สำคัญ กายสีดอกตะแบก (ชมพูอมม่วง) มี ๑ พักตร์ ๔ กร ยอดมงกุฎชัย มีครุฑเป็นพาหนะ สถิต ณ เกษียรสมุทร มีพระลักษมี เทพเจ้าแห่งลาภและความดีเป็นพระมเหสี ลักษณะเศียร สีดอกตะแบก ทรงมงกุฎ
พระฤาษี
มีทั้งหมด ๑๐๘ ตน ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กัน ถ้าด้านนาฏศิลป์ไทย, ดนตรีไทย ฤาษีตนนั้นมีชื่อว่า " พระภรตฤาษี "(พระภรตมุณี) เป็นผู้ได้รับ เทวโองการจากพระ อิศวร (ศิวะ) ให้นำศิลปการร่ายรำ ท่าศิวนาฏราช (ท่านาฏยศาสตร์๑๐๘ท่า) มาบังเกิดในโลกมนุษย์
พระวิศวกรรม (พระวิศณุกรรม)
หรือในบางครั้งรู้จักในนาม พระเพชฉลูกรรม เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปการช่าง เป็นนายช่างใหญ่ของเทวดา เป็นผู้ประสิทธิ์ประศาสตร์เครื่องดนตรีสารพัน และถือว่าพระวิศวกรรมเป็นเทพผู้บันดาลให้เกิดเสียง และเป็นแบบฉบับในการบรรเลงสืบมา ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระวิศวกรรม มี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะศีรษะโล้นวาดรูปดอกไม้บนศีรษะ และศีรษะทรงเทริดน้ำเต้า เป็นหน้าสวม ลักษณะใบหน้า
พระปรคนธรรพ มีพระนามจริงว่า "พระนารทมุนี"
เป็นผู้สร้างพิณขึ้นเป็นคันแรก เป็นตนในมหาฤาษีทั้งสิบ เกิดจากพระนลาฏของพระพรหม เป็นคนธรรพจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีความดีเกินกว่าจะเป็นมนุษย์แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นเทวดา อาศัยอยู่ระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์ มีความชำนาญในการขับร้องและเล่นดนตรี มีหน้าที่บรรเลงดนตรีให้ความสำราญและขับกล่อมเทพยดา ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระปรคนธรรพ มี 2 ลักษณะ คือ หน้าสีเขียวช่อแค เป็นหน้าสวมมงกุฎยอดบวช ปาก จมูกเหมือนมนุษย์ ส่วนตาจระเข้หรือตานกนอน และอีกลักษณะคือ หน้าสีส้มหรือสีปูนแห้ง เป็นหน้าสวมใบหน้า หน้าเหมือนมนุษย์เขียนลายทักษิณาวรรตใส่ยอดชัย
พระปัญจสีขร (ปัญจสิข)
เป็นเด็กเลี้ยงโค ช่วงที่เป็นมนุษย์ได้สร้างสาธารณะประโยชน์มากมาย ได้บังเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจตุมหาราช ชื่อว่า "ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร" กายเป็นสีทอง มีกุณฑล ทรงภูษาสีแดงประดับด้วยนิล เป็นพระพุทธอุปัฏฐากในพระพุทธบาทยุคล มีความสามารถในเชิงดีดพิณ และขับลำนำ ซึ่งพิณของพระปัญจสีขรมีลักษณะรูปพรรณเลื่อมเหลือง ดั่งผลมะตูมสุก ตระพองพิณเป็นทองทิพย์ คันพิณทำด้วยแก้วอินทนิลมณี มี 50 สาย ทำจากเงิน ลูกบิด (เวทกะ)ที่สอดสายพิณอยู่ปลายคันทำด้วยแก้วประพาฬ ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระปัญจสีขร มียอดมงกุฎน้ำเต้า 5 ยอด เป็นหน้าสวม ขาว ลักษณะใบหน้าเหมือนมนุษย์
พระพิราพ (พระไภรวะ ) เป็นอสูรเทพบุตร อยู่เชิงเขาอัศกรรณ พระอิศวรเอากำลังพระสมุทร และพระเพลิงแบ่งประทาน และทรงกำหนดเขตป่า ให้อยู่ ถ้ามีสัตว์พลัดหลงมาในป่าให้จับกินได้ มีกายสีม่วงแก่ ๑พักตร์ ๑ กร มีหอกเป็นอาวุธ มูลเหตุที่ศิลปินเคารพบูชาเพราะว่า มีผู้ค้นคว้าไว้ว่า เริ่มมาจากในประเทศอินเดีย ซึ่งถือว่า พระพิราพ หรือพระไภรวะนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า "วิจิตรตาณฑวะ" ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ(อิศวร) ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น "นาฏราช" ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพเกรงกลัว เพราะถือเป็นเทพที่บันดาลความเป็นความตายได้ ลักษณะเศียรโล้น สีม่วงแก่ (พิราพเดินป่า) สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจระเข้
พระคเณศร์(พระพิฆเณศวร)
เป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ศิลปวิทยาการทั้งปวง มีกายสีแดงสัมฤทธิ์ ร่างมนุษย์ อ้วนเตี้ย ทั้งพลุ้ย หูยาน มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว มี ๔ กร มงกุฎทรงเทิดยอดน้ำเต้า ทรงหนูเป็นพาหนะ เป็นโอรสของพระอิศวรและพระอุมา ลักษณะเศียร สีแดง มงกุฎเทิดน้ำเ
อัครศิลปินทางด้านดนตรีและการแสดง..วันนี้
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ นามเดิม (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรีว่า "ครูจางวางศร" เป็นบุตรคนสุดท้องของ ครูสิน ศิลปบรรเลง ครูปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงของ สมุทรสงคราม เป็นศิษย์เอกหนึ่งในสองคนของพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) เมื่อยังอยู่ในวัยเยาว์มีชื่อเสียงในการตีระนาดเอกได้เคยแสดงฝีมือในงานของเจ้านายหลายครั้งและเคยได้รับรางวัลจากสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ จางวางศร (รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในรัชกาลที่ ๖ )ได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระกรุณาด้วยความจงรักภักดีอย่างสุดความสามารถ ได้ปรับปรุงเพลงไทยเดิมต่างๆ เช่นเพลง ๒ ชั้น ปรับปรุงเป็นเพลงเถาหลายสิบเพลง จางวางศร มีความเห็นว่าเพลงไทยจะมีวิวัฒนาการได้นั้น ต้องมีการประดิษฐ์เพลงให้มีเพิ่มขึ้นโดยรักษาหลักเดิม และใช้ศิลปะในการประดิษฐ์ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ตลอดชีวิตของท่านจึงมีการประดิษฐ์เพลงใหม่ขึ้นอีกหลากหลาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)